การเลี้ยง มด

หัวข้อ

การเลี้ยง มด

การเลี้ยง มด การเลี้ยงมด หรือ Ant-keeping เป็นเหมือนงานอดิเรกประเภทหนึ่ง ผู้เลี้ยงเพียงแค่ดูแล เฝ้าสังเกตุพฤติกรรมของฝูงมด ชื่นชมอาณาจักร รับบทพระเจ้าเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง การสร้างโลกใบจิ๋วนี้ โดยการเลี้ยงมดนั้นได้รับความนิยมมาเกือบศตวรรษแล้วตั้งแต่ปี 1950’s ในสหรัฐอเมริกา หลังจากที่ Milton Levine ได้เฝ้าสังเกตฝูงมดริมสระว่ายน้ำ จนเกิดเป็นแรงบรรดาลใจในการเริ่มทำ Antarium นำไปสู่การผลิตชุดเลี้ยงมด Uncle Milton’s Ant Farm ขายจนประสบความสำเร็จกลายเป็นของเล่นแห่งศตวรรษ และการเลี้ยงมดก็ได้รับความนิยมตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สายพันธุ์มดเลี้ยง ส่วนในประเทศไทยนั้น ช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมานี้การเลี้ยงมดเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น มีคอมมูนิตี้คนเลี้ยงมดเกิดขึ้นในโซเชียลมากมาย จนตอนนี้กระแสเลี้ยงมดก็ยังคงแรงไม่ตกสาเหตุที่ทำให้ การเลี้ยงมด ยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องอาจจะเป็นความสนุก ตื่นเต้น ท้าทายจากการออกตามล่าหานางพญามดเหมือนเกม Pokemon go สุดฮิต รวมไปถึงการสร้างรังเฝ้าดูชีวิตและพฤติกรรมที่น่าสนใจของฝูงมดในการสร้างอาณาจักร ที่มีคนบอกว่ามันมอบความสนุกเพลิดเพลินไม่ต่างจากการเล่นเกม The Sims สุดคลาสสิก ที่ครองใจคนเล่นมาหลายสิบปี และที่สำคัญมดยังเป็นสัตว์ที่ไม่ต้องการความสนใจและพื้นที่เลี้ยงมาก จึงตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ที่ไม่ค่อยมีเวลา ที่อยู่อาศัยมีพื้นที่จำกัด นอกจากนี้ยังมีอิทธิพลจากภาพยนตร์ อย่างเรื่อง ANT-MAN ก็ช่วยเสริมให้กระแสการเลี้ยงมดในปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง

 

ทำความรู้จักสังคมของมด การเลี้ยง มด 

 

การเลี้ยง มด เป็นแมลงในวงศ์ Formicidae เช่นเดียวกับพวกผึ้ง ต่อ แตน โดยมดนั้นเป็นแมลงสังคม (Eusocial insect) กล่องเลี้ยงมด อาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มหรืออาณาจักรขนาดใหญ่ (colony) มดบางรังมีประชากรมดมากถึงล้านตัวเลยทีเดียว ซึ่งในสังคมของมดนั้นมีความคล้ายกับสังคมของมนุษย์มาก ๆ เพราะพวกมันมีการแบ่งวรรณะเหมือนกันดังนี้

 

Queen Ant มดราชินี หรือนางพญา

 

มดราชินี อยู่ในวรรณะสืบพันธุ์ เป็นหัวใจของอาณาจักร มีหน้าที่สืบพันธุ์วางไข่และควบคุมกิจกรรมต่าง ๆ ภายในสังคม ส่วนใหญ่แล้วมดราชินีมีขนาดใหญ่กว่ามดวรรณะอื่น ๆ ซื่งแบ่งได้ 3 ประเภทราชินีสลัดปีกหลังจากสืบพันธุ์ ( Dealate Queen )ราชินีวัยอ่อน ( Alate Queen ) เมื่อโตเต็มวัยจะบินออกจากรังไปผสมพันธุ์ และกลายเป็นราชินีสลัดปีกราชินีไม่มีปีก ( Ergatoid Queen) พบในมดบางสกุลเท่านั้นทั้งนี้ราชินีมดหลังจากที่ผสมพันธุ์แล้วก็สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ แบบ Fully-Claustra และแบบ Semi-Claustra โดย Fully-Claustra นางพญาพวกนี้จะมีสารอาหารสะสมไว้แล้วที่ก้นป่อง ๆ กลม ๆ ของนาง เพราะฉะนั้นนางจะไม่ต้องการอาหารในช่วงสร้างรัง วางไข่ อยู่ได้โดยไม่กินอะไรเลยจะกว่าจะมีมดงานตัวแรก (Nanitic) เกิดขึ้นมา มันจะทำหน้าที่หาอาหารไปเลี้ยงนางพญาวางไข่ ดูแลตัวอ่อน หลังมีมดงานตัวแรก

 

Male Ant มดเพศผู้

 

อยู่ในวรรณะสืบพันธุ์ เป็นมดที่มีปีก คล้ายๆ กับราชินีมดแต่ตัวเล็กกว่าโดยเฉพาะส่วนหัวโดยมดเพศผู้ จะปรากฎในรังแค่ช่วงสั้น ๆ เท่านั้น เนื่องจากเขาin your phone is จากรังเพื่อไปผสมพันธุ์กับราชินีวัยอ่อนที่มาจากรังอื่น และก็จะตายลงหลังจากผสมพันธุ์เสร็จ

 

การสร้าง แอนท์ณาจักร ตามธรรมชาติของชาวมด

 

ตามธรรมชาติมดส่วนใหญ่จะเริ่มสร้างอาณาจักรโดยมีมดราชินีแค่ตัวเดียวเท่านั้น เรียกได้ว่าเป็นซิงเกอร์มัมมด หลังจากที่ราชินีวัยอ่อนผสมพันธุ์กับมดตัวผู้แล้ว นางก็จะเก็บน้ำเชื้อเอาไว้ในถุงเก็บน้ำเชื้อ จากนั้นก็จะสลัดปีกออกและกลายร่างเป็น Dealate Queen มองหาทำเลดีๆ ในการสร้างรังและวางไข่ชุดแรก จนฝักเป็นมดงานชุดแรก (Nanitic) ที่สามารถทำหน้าที่ต่างๆ ได้อย่างสมบูรณ์ แลเมื่อมีมดงานจำนวนเยอะมากพอแล้ว ราชินีก็จะให้กำเนิดมดสืบพันธุ์ ทั้งมดเพศผู้และราชินีวัยอ่อน ให้เติบโต บินออกจากรังไปสืบทอดสายพันธุ์ชาวมดต่อไป

 

พันธุ์มดเลี้ยงง่าย สำหรับมือใหม่หัดเลี้ยง

 

สำหรับมือใหม่หัดเลี้ยงมด เราขอแนะนำให้เริ่มเลี้ยงมดสายพันธุ์ท้องถิ่นก่อน เพราะสามารถออกไปล่านางพญาได้เอง หรือหาซื้อได้ราคาที่ไม่สูงมาก

 

มดคันไฟ Fire Ant (Solenopsis Geminata)

 

พบได้ทั่วไปตามบ้าน ขยายพันธุ์เร็ว มีความอึดทนทาน ปรับตัวได้ดี สีทองเเดง-น้ำตาลที่หัวและลำตัว ช่วงท้องนั้นจะมีสีเข้มกว่าส่วนอื่น มดงานจะมีความยาว 3-6 มม. ส่วนนางพญามีความยาวประมาณ 15 มม. มดงานจะชอบหาอาหารที่มีรสหวาน โปรตีน ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ที่ตายเเล้ว เเมลง ไส้เดือน น้ำหวานในดอกไม้ แต่คนเลี้ยงต้องระวังหน่อย เพราะน้องมีเหล็กใน โดนกัดอาจแพ้ได้บทความนี้เราทำความรู้จัก “มด” กันไปพอสมควรแล้ว หากคุณอยากมี แอนท์ณาจักร เป็นของตัวเองบ้างล่ะก็ ติดตามได้ในบทความต่อไป เราจะมาแนะนำวิธีการสร้างอาณาจักร วิธีการเลี้ยงมดเบื้องต้น ตั้งแต่การจับนางพญา รวมไปถึงการเลือกรังมด

 

มดน้ำผึ้ง Yellow Crazy Ants (Anoplolepis gracilipes)

 

หลายคนสับสนชื่อของมดชนิดนี้กับ มดน้ำผึ้ง Honey Pot Ant ในอเมริกา ที่สามารถกลายร่างเป็นโถน้ำผึ้งหมีพูห์ได้ ซึ่งความจริงแล้วมดทั้งสองชนิดมีลักษณะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยมด Yellow Crazy Ants นั้นเป็นมดชนิดนี้เป็นมดรุกราน หรือมดต่างถิ่น หาอาหารและทำรังบนพื้นดินและขอนไม้ผุ พบกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย มีสีเหลืองทองคล้ายสีน้ำผึ้ง เลี้ยงง่าย ขยายพันธุ์เร็ว มีความ Crazy วิ่งพล่านไม่ต่างจาก Black Crazy Ant โปรดปรานคือน้ำตาล ของหวานที่สุด

 

บทความที่แนะนำ