การเลี้ยง ปลาช่อน

หัวข้อ

การเลี้ยง ปลาช่อน

การเลี้ยง ปลาช่อน ปลาช่อนเป็นปลาน้้าจืดที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งของประเทศไทยอาศัยอยู่ในแหล่งน้้าจืด ทั่วไป เช่น แม่น้้า ล้าคลอง หนอง บึงและทะเลสาบ มีชื่อสามัญ STRIPED SNAKE-HEAD FISH และมีชื่อ วิทยาศาสตร์ว่า Channa striatus ปลาช่อนเป็นปลาที่มีรสชาติดี ก้างน้อย สามารถน้ามาประกอบอาหาร ได้หลายชนิด การเลี้ยงปลาช่อน แบบธรรมชาติ จึงท้าให้การบริโภคปลาช่อนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย แต่ปัจจุบันปริมาณ ปลาช่อนที่ จับได้จากแหล่งน้้าธรรมชาติมีจ้านวนลดน้อยลง เนื่องจากการท้าประมง เกินศักยภาพการผลิต ตลอดจน สภาพแวดล้อมของแหล่งน้้าเสื่อมโทรม ตื้นเขิน ไม่เหมาะสมต่อการด้ารงชีวิต ท้าให้ปริมาณปลาช่อนใน ธรรมชาติ ไม่เพียงพอต่อการใช้ประโยชน์และความต้องการบริโภค การเลี้ยงปลาช่อนจึงเป็นแนวทางหนึ่ง ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลน โดยน้าลูกปลา ที่รวบรวมได้จากแหล่งน้้าธรรมชาติและจากการเพาะ ขยายพันธุ์มาเลี้ยงให้เป็นปลาโตตามขนาดที่ตลาดต้องการต่อไป

 

อุปนิสัย การเลี้ยง ปลาช่อน 

 

การเลี้ยง ปลาช่อน โดยธรรมชาติปลาช่อนเป็นปลาประเภทกินเนื้อ กินสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน้้า รวมทั้งปลาขนาดเล็ก และแมลงในน้้าชนิดต่างๆเป็นอาหาร การเลี้ยงปลาช่อนในบ่อดิน เมื่ออาหารขาดแคลน ปลาจะมีพฤติกรรมกินกันเอง โดยปลาช่อนตัว ใหญ่จะกินปลาตัวเล็ก

 

รูปร่างลักษณะ

 

ปลาช่อนเป็นปลาที่มีเกล็ด มีส่วนหัวค่อนข้างโต รูปร่างทรงกระบอกยาว ล้าตัวอ้วนกลมยาว เรียว ท่อนหางแบนข้าง หัวแบนลง เกล็ดมีขนาดใหญ่ ปากกว้างมาก มีฟันซี่เล็กๆ อยู่บนขากรรไกรทั้งสอง ข้าง ครีบทุกครีบไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหลังและครีบก้นยาวจนเกือบถึงโคนหาง ครีบหางเรียวปลายมน ด้านข้างล้าตัวมีลายด้าพาดเฉียง ล้าตัวสีคล้้าอมมะกอกหรือน้้าตาลอ่อน มีลายเส้นทแยงสีคล้้าตลอดทั้ง ล้าตัว 6 – 7 เส้น ด้านท้องสีจางตัดกับด้านบน ครีบสีคล้้ามีขอบสีเหลืองอ่อน ครีบท้องจ าง มีขนาดล้าตัว ประมาณ 30 – 40 ซ.ม. ใหญ่สุดได้ถึง 1 เมตร มีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจ ปลาช่อนจึงสามารถ เคลื่อนไหวไปบนบกหรือฝังตัวอยู่ในโคลนได้เป็นเวลานานๆ

 

แหล่งกำเนิดและการแพร่กระจาย

 

ปลาช่อนเป็นปลาน้้าจืด อาศัยอยู่ตามแม่น้้า (ตอนที่กระแสน้้าไหลอ่อนๆ) ล้าคลอง หนองบึง บ่อ และคู ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ในฤดูฝนปรากฏว่าปลาช่อน ขึ้นไปหาอาหารและวางไข่ตามทุ่งนา เป็นอัน มาก นอกจากนี้ยังพบว่าปลาช่อนนั้นสามารถอยู่ได้ในน้้ากร่อย เช่น บริเวณคลองด้านซ้ายมือ เขตอ้าเภอ บางปะกง ซึ่งมีความเค็ม 0.2-0.3 เปอร์เซ็นต์และมี pH ตั้งแต่ 4.0-9.0 ปลาช่อนก็อยู่ได้ นอกจากประเทศ ไทยแล้วในต่างประเทศที่พบว่ามีปลาช่อน คือ อินเดีย พม่า มลายู บอร์เนียวเหนือ เวียดนาม เขมร ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย

 

การเตรียมพ่อแม่พันธุ์

 

พ่อแม่พันธุ์ที่ใช้ ต้องเป็นปลาที่เลี้ยงเองตั้งแต่เล็ก ด้วยอาหารเม็ด เพื่อให้ปลาเชื่องและคุ้นเคยต่อ สภาพกักขัง โดยช่วงแรกอายุ 1 – 3 เดือน เลี้ยงในบ่อซีเมนต์ เพื่อฝึกให้ปลาเชื่องและกินอาหารเม็ดได้ดี หลังจากนั้นน้าไปเลี้ยงในบ่อดินเพื่อให้ได้ขนาดใหญ่ขึ้น อายุ 6-8 เดือน จึงน้า กลับมาเลี้ยงต่อในบ่อซีเมนต์ เพื่อเป็นพ่อแม่พันธุ์

 

การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์

 

เลี้ยงในบ่อซีเมนต์แบบรวมเพศอัตราการปล่อย 10 ตัวต่อตารางเมตร น้้าหนักรวม 100 กิโลกรัมต่อ บ่อขนาด 50 ตารางเมตร ให้อาหารเม็ดลอยน้้าส้าหรับปลาดุกเล็กโปรตีน 30 เปอร์เซ็นต์วันละ 2 ครั้ง อัตรา 2% ของน้้าหนักตัว เปลี่ยนถ่ายน้้าทั้งบ่อพร้อมล้างท้าความสะอาดเดือนละ 2 ครั้ง ไม่ให้อากาศ การเพาะพันธุ์โดยใช้ฮอร์โมน ปลาช่อนสามารถวางไข่ได้เกือบตลอดทั้งปี ส้าหรับฤดูกาลผสมพันธุ์วางไข่ จะเริ่มตั้งแต่เดือน มีนาคม –ตุลาคม ช่วงที่แม่ปลามีความพร้อมที่สุดคือ เดือน มิถุนายน – กรกฎาคม ในฤดูวางไข่ จะสังเกตความแตกต่างระหว่างปลาเพศผู้กับเพศเมียอย่างเห็นได้ชัดคือ ปลาเพศเมีย ลักษณะท้องจะอูมเป่ง ช่องเพศขยายใหญ่ มีสีชมพูปนแดง ครีบท้องกว้างสั้น ส่วนปลาเพศผู้ ล้าตัวมีสี เข้มใต้คางจะมีสีขาว ล้าตัวยาวเรียวกว่าปลาเพศเมีย

 

การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์

 

ปลาช่อนที่น้ามาใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ควรเป็นปลาที่มีรูปร่างลักษณะสมบูรณ์ ไม่บอบช้้าและมีน้้าหนัก ตั้งแต่ 800 – 1,000 กรัมขึ้นไปและควรอายุ 1 ปีขึ้นไป ลักษณะแม่พันธุ์และพ่อพันธุ์ปลาช่อนที่ดีซึ่ง เหมาะสมจะน้ามาใช้ในการเพาะพันธุ์ คือ แม่พันธุ์ควรมีส่วนท้องอูมเล็กน้อย ลักษณะของติ่งเพศ มีสีแดง หรือสีชมพูอมแดง ถ้าเอามือบีบเบาๆที่ท้องจะมีไข่ไหลออกมา มีลักษณะกลมสีเหลืองอ่อน ใส ส่วนพ่อพันธุ์ ติ่งเพศ ควรจะมีสีชมพูเรื่อๆ ปลาไม่ควรจะมีรูปร่างอ้วนหรือผอมมากเกินไปและเป็นปลาที่มี ขนาดน้้าหนัก 800 – 1,000 กรัม การคัดเลือก ต้องท้าด้วยความรวดเร็วอย่าให้ปลาขับเมือกออกมาก พ่อปลาควรมี อายุมากกว่าแม่ปลา คือ อายุ 2 ปีขึ้นไป

 

การฉีดฮอร์โมน

 

ใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์(Suprefact) ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์ (Motilium) ฉีดให้แม่ปลาครั้งเดียว อัตรา ฮอร์โมนสังเคราะห์20-30 ไมโครกรัม/กิโลกรัมและยาเสริมฤทธิ์ 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม พ่อปลาฉีดพร้อมแม่ ปลาด้วยความเข้มข้นฮอร์โมนสังเคราะห์10 ไมโครกรัม/กิโลกรัมและยาเสริมฤทธิ์ 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ฉีด เข้ากล้ามเนื้อข้างตัวปลาหรือโคนครีบหู ขณะฉีดปลาต้องอยู่ในน้้าตลอดเวลา

 

การผสมพันธุ์

 

หลังฉีดฮอร์โมนแล้ว ปล่อยพ่อแม่ปลาลงผสมในถังพลาสติกทรงสูง เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 30 เซนติเมตร น้้าลึก 60-70 เซนติเมตร ถังละ 1 คู่ ใส่เชือกฟางฉีกฝอยเพื่อเป็นรังไข่ ปิดปากถังด้วยตาข่าย พรางแสงสีด้าทิ้งไว้ 24 ชั่วโมงปลาจะรัดและผสมพันธุ์วางไข่เองตามธรรมชาติไข่ลอยผิวหน้าน้้าบริเวณรังไข่ ขณะผสมพันธุ์พ่อแม่ปลาต้องการที่เงียบสงบ ถั งเพาะควรอยู่ในที่เงียบสงบ ไม่ พลุกพล่านหรือมีเสียง รบกวน

 

บทความที่แนะนำ